ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) เพื่อยกระดับราคาที่เกษตรกรจะได้รับกับระบบเกษตรกรรมในอนาคต

ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีการนำแพลทฟอร์มของเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการเกษตรมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการซื้อขายและการตรวจสอบย้อนกลับของผลิตภัณฑ์เกษตร ในออสเตรเลียบริษัท Agridigital ได้มีการนำ Blockchain มาใช้ในการจัดการระบบการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรที่ผลิตข้าวโอ๊ต รวมไปถึงใช้ในการการติดตามเส้นทางการผลิตและขนส่งข้าวโอ๊ตที่ผลิตในระบบอินทรีย์ ที่ประเทศอเมริกามีรายงานการใช้ Blockchain ในการจัดการขายผลผลิตถั่วเหลืองจำนวน 60,000 ตันให้แก่รัฐบาลจีน โดยบริษัทผู้ผลิตถั่วเหลืองให้ข้อมูลว่า Blockchain ช่วยให้ระยะเวลาในกระบวนการทำธุรกรรมลดลงจาก 2 สัปดาห์เหลืองเพียง 1 สัปดาห์

นอกจากนี้ที่ประเทศฟิจิมีการนำ Blockchain มาใช้เพื่อติดตามแหล่งที่มาของปลาทูน่า โดยปลาที่ถูกจับได้จากทะเลจะถูกติดด้วยฉลากที่ระบุตัวตนด้วยความถี่วิทยุ ทำให้การเคลื่อนย้ายของปลาที่จับได้ในแต่ละรอบจะถูกบันทึกและติดตามได้ตามลำดับเวลาโดยข้อมูลจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้ร้านค้าและผู้ซื้อสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงที่มาของปลาได้อย่างโปร่งใส และลดปัญหาปลาที่มาจากการทำประมงแบบผิดกฎหมาย จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี Blockchain นั้นมีศักยภาพสูงและน่าจะถูกนำมาใช้ในภาคการเกษตรของประเทศไทยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในมาตรฐานและคุณภาพของสินค้าเกษตรมากขึ้น


Leaf photo created by mrsiraphol – www.freepik.com

บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ที่อาจจะสามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาสองประการข้างต้นได้ บล็อกเชน คือ เครื่อข่ายการเก็บข้อมูลธุรกรรม ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงทุกข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้ กล่าวคือ ผู้ทำธุรกรรรมทุกรายจะสามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมของฝ่ายอื่นๆ ได้ จากแต่เดิมที่จะเห็นเฉพาะข้อมูลธุรกรรมที่ทางฝ่ายตนบันทึกไว้

ลักษณะตรงนี้น่าจะช่วยแก้ปัญหาเกษตรกรโดนกดราคาได้ เพราะข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นจะสามารถนำมาตรวจสอบได้ว่าราคาที่เกษตรกรได้รับมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่ง บล็อกเชนจะช่วยให้การค้าสินค้าเกษตรมีความโปร่งใสมากขึ้น

ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของบล็อกเชน คือ การช่วยให้เกิดการทำธุรกรรมโดยตรงระหว่างบุคคล โดยที่ไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลางที่มีหน้าที่สร้างความน่าเชื่อถือเหมือนในอดีต ลักษณะตรงนี้จะช่วยตัดคนกลางที่มีหน้าที่สร้างความน่าเชื่อถือในการซื้อขายสินค้าเกษตรออกไป เป็นผลให้ต้นทุนในการค้าสินค้าเกษตรลดลง ซึ่งต้นทุนที่ลดลงตรงนี้อาจช่วยให้ราคาสินค้าที่เกษตรกรได้รับปรับตัวเพิ่มขึ้นได้