Carbon Footprint เพื่อก้าวให้ทันโลกในยุคสังคมคาร์บอนต่ำ

วิถีคาร์บอนต่ำจะกลายเป็น Norm ของธุรกิจยุคใหม่ โดยที่ภาคธุรกิจต้องสร้างสมดุล
ระหว่างผลตอบแทนทางธุรกิจกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ในปัจจุบัน ประเทศ
และองค์กรธุรกิจท่ัวโลกต่างให้ความสำคัญกับการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ซึ่งเป็นความท้าทายและแรงผลักดัน
ให้ประเทศคู่ค้าต่างๆนำเอากฎเกณฑ์ทางการค้ามาบังคับใช้อย่างเข้มข้นซึ่งอาจส่งผล
กระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ
หากธุรกิจไทยจะแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลกที่ใส่ใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศจำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้าและสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะ
การทำบัญชี Carbon Footprint ซ่ึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ เพื่อผู้ประกอบการจะได้
ทราบว่าการดำเนินธุรกิจของตนเอง รวมถึงการผลิตสินค้าหรือบริการ มีการปลดปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกออกมามากน้อยเพียงใด และยังช่วยสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นถึงวิธีการ
ลด Carbon Footprint ของตน หากสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ให้อยู่ในระดับต่ำ จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับสินค้าลักษณะเดียวกันที่ปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกสูงกว่า สร้างโอกาสการขายสินค้ามากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการ
เจรจาการค้า รวมทั้งช่วยลดแรงกดดันจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมหรือกฎเกณฑ์
ทางการค้าที่มีแนวโน้มเข้มข้นขึ้นในประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐฯ
จีน และญี่ปุ่น

Carbon Footprint คืออะไร?
คาร์บอนฟุตพริ้นท์(Carbon Footprint) แสดงปริมาณรวมของก๊าซเรือนกระจกที่
ปล่อยออกมาจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยในปัจจุบัน มีการประเมิน Carbon
Footprint ท้ังในระดับผลิตภัณฑ์หรือบริการ และระดับองค์กร โดยคำนวณออกมา
ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า สำหรับการขึ้นทะเบียนเครื่องหมายรับรอง
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือ ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon
Footprint Label) ในประเทศไทยน้ัน ดำเนินการผ่านองค์การบริหารจัดการก๊าซ
เรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ให้ความ
สนับสนุนหลักในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย

ที่มา: BOI รวบรวมโดย Krungthai COMPASS